หลักการเลือกขนาดของเครื่องลดความชื้น

Last updated: 11 ก.พ. 2566  |  457 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เครื่องลดความชื้น OL20

เครื่องลดความชื้นเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการลดความชื้นในอากาศภายในห้อง เมื่อสามารถเลือกขนาดของเครื่องได้เหมาะสมจะทำให้สามารถลดความชื้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ภายในชั้นใต้ดินซึ่งมีความชื้นสูงจะต้องการเครื่องลดความชื้นขนาดใหญ่ ในขณะที่ห้องอาบน้ำขนาดเล็กกว่าต้องการเพียงเครื่องลดความชื้นขนาดเล็ก ในบทความนี้จะแนะนำหลักการในการเลือกขนาดของเครื่องลดความชื้น

ขั้นตอนที่ 1

ใช้เครื่องไฮกรอมิเตอร์ในการวัดความชื้นที่แน่นอนของห้องหรือบริเวณที่ต้องการลดความชื้น ซึ่งไฮกรอมิเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับความชื้นสามารถหาซื้อได้ในร้านจำหน่ายอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ทั่วไป

ขั้นตอนที่ 2

ใช้ลักษณะเฉพาะของห้องในการประเมินระดับความชื้นถ้าไม่มีไฮกรอมิเตอร์

– ถ้าห้องเปียกและบรรจุน้ำตลอดเวลา ระดับความชื้นอยู่ระหว่าง 90-100 เปอร์เซ็นต์ อยู่ระดับที่เรียกว่า “extremely wet.”

– ถ้าห้องมีกลิ่นและรู้สึกว่าเปียก อีกทั้งมีเชื้อราที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ความชื้นอยู่ระหว่าง 80-90 เปอร์เซ็นต์ จัดอยู่ในระดับ “wet.” ซึ่งสามารถมองเห็นรอยคราบน้ำบนผนังหรือกำแพงได้

– ถ้าห้องชื้นมากและได้กลิ่นของเชื้อรา ความชื้นอยู่ระหว่าง 70-80 เปอร์เซ็นต์ อยู่ในระดับ “very damp.”

– ถ้าห้องได้กลิ่นของความชื้นหรืออากาศชื้น ความชื้นสัมพัทธ์อยู่ระหว่าง 60-70 เปอร์เซ็นต์ และจัดอยู่ในระดับ “moderately damp.”

ขั้นตอนที่ 3

หาการเปลี่ยนแปลงของอากาศต่อชั่วโมง (ACH) เพื่อคำนวณหาอัตราการไหลของความชื้นที่เหมาะสมภายในห้อง

– ถ้าระดับความชื้นอยู่ในระดับ extremely wet หรือ 90-100 เปอร์เซ็นต์ ACH จะมีค่าเท่ากับ 6

– ถ้าระดับความชื้นอยู่ในระดับ wet หรือ 80-90 เปอร์เซ็นต์ ACH จะมีค่าเท่ากับ 5

– ถ้าระดับความชื้นอยู่ในระดับ very damp หรือ 70-80 เปอร์เซ็นต์ ACH จะมีค่าเท่ากับ 4

– ถ้าระดับความชื้นอยู่ในระดับ moderately damp หรือ 60-70 เปอร์เซ็นต์ ACH จะมีค่าเท่ากับ 3

ขั้นตอนที่ 4

คำนวณหาพื้นที่ที่คุณต้องการลดความชื้น

– วัดความกว้างความยาวของห้อง

– คำนวณพื้นที่โดยนำความกว้างคูณด้วยความยาวห้อง เช่น ถ้าห้องกว้าง 8 ฟุต (2.43 เมตร) และยาว 9 ฟุต (2.74 เมตร) พื้นที่ห้องที่ได้ คือ 72 ตารางฟุต (6.68 ตารางเมตร)

 ขั้นตอนที่ 5

คำนวณปริมาตรห้องที่ต้องการลดความชื้น โดยการนำพื้นที่ห้องคูณด้วยความสูงของห้อง ตัวอย่างเช่น ห้องมีพื้นที่ขนาด 72 ตาราฟุต (6.68 ตารางเมตร) และมีความสูง 8 ฟุต (2.43 เมตร
) จะคำนวณปริมาตรห้องได้เท่ากับ 576 ลูกบาศก์ฟุต (16.31 ลูกบาศก์เมตร)

ขั้นตอนที่ 6

คำนวณหาปริมาณอัตราการไหลอากาศหรือลูกบาศก์ฟุตต่อนาที (cubic feet per minute: CFM) ในการเลือกเครื่องลดความชื้น

– คูณปริมาณ CFM กับค่า ACH และหารด้วย 60

ตัวอย่างเช่น

ปริมาตรอากาศ 576 ลูกบากศก์เมตร และความชื้นภายในห้องจัดอยู่ในระดับ “extremely wet”  จึงนำ  576×6 ได้เท่ากับ 3456 และหารด้วย 60 จะได้เท่ากับ 57.6 CFM

ขั้นตอนที่ 7

หาความชื้นที่ต้องการกำจัดออกจากอากาศภายในห้องต่อวัน

– สำหรับเงื่อนไขความชื้น moderately damp จะต้องการเครื่องลดความชื้นที่สามารถดูดความชื้นในอากาศได้ 4.73 ลิตร ของนำภายในพื้นที่ 500 ตาราฟุต และมากกว่าพื้นที่ 500 ตารางฟุตเพิ่ม 1.89 ลิตร ตัวอย่างเช่น พื้นที่ 1500 ตารางฟุต จำเป็นต้องการเครื่องลดความชื้นในอากาศ 8.51 ลิตร

– สำหรับเงื่อนไขความชื้น very damp จะต้องซื้อเครื่องลดความชื้นที่กำจัดความชื้น 5.67 ลิตรของน้ำภายในห้อง 500 ตารางฟุต มากกว่าพื้นที่ 500 ตารางฟุตเพิ่ม 2.36  ลิตร

– สำหรับเงื่อนไขความชื้น wet conditions  จะต้องซื้อเครื่องลดความชื้นที่กำจัดความชื้น 6.62  ลิตรของน้ำภายในห้อง 500 ตารางฟุต มากกว่าพื้นที่ 500 ตารางฟุตเพิ่ม 2.83 ลิตร

– สำหรับเงื่อนไขความชื้น extremely wet  จะต้องซื้อเครื่องลดความชื้นที่กำจัดความชื้น 7.57  ลิตรของน้ำภายในห้อง 500 ตารางฟุต มากกว่าพื้นที่ 500 ตารางฟุตเพิ่ม 3.31 ลิตร

ขั้นตอนที่ 8

ซื้อเครื่องลดความชื้นที่รองรับ CFM และความชื้นที่ต้องการ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้